จุฑามาศ หลักคำ เลขที่ 14 ม.6/13
รับผิดชอบสืบค้นข้อมูล 4 คำได้แก่ สารที่ควบคุมการเจริญเติบโต , ออกซิน ,
จิบเบอเรลลิน , ไซโทไคนิน , เอทีลีน
สารที่ควบคุมการเจริญเติบโตของพืช
สารควบคุมการเจริญเติบโต หรือที่เรียกกันทั่วไปว่าฮอร์โมนจัดเป็นกลุ่มของสารที่กำลังได้รับความสนใจอย่างมากใน
ปัจจุบันนี้ เนื่องจากสามารถใช้ประโยชน์ได้กว้างขวางและเห็นผลได้
ค่อนข้างเด่นชัดโดยมากใช้ในการติดผล เร่ง หรือชะลอการ
แก่การสุกซึ่งลักษณะต่าง ๆ เหล่านี้ถูกควบคุมโดยสารแต่ละ
ชนิดแตกต่างกันไปดังนั้น ถ้ามีการเลือกใช้ได้อย่างถูกต้องก็จะทำ
ให้เราสามารถควบคุมการเจริญเติบโตของพืชได้ตามต้องการ
คุณสมบัติของสารที่จัดเป็นสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช สามารถแยกออกเป็นข้อๆ ได้ดังนี้
1. เป็นสารอินทรีย์ (Organic Compound)
เป็นสารอินทรีย์ที่สูตรโครงสร้างประกอบด้วย C H หรือ O
ไม่ว่าสารนั้นจะเป็นสารที่พืชสร้างขึ้น สกัดได้มาจากพืช
หรือเป็นสารสังเคราะห์โดยมีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช
อาจจะส่งเสริม ยับยั้ง หรือชะลอการเจริญเติบโตของพืช
มีสารบางชนิดที่มีผลในการส่งเสริมการเจริญเติบโตของ
พืชได้ เช่น ธาตุอาหารที่ให้แก่พืช แต่ไม่ได้จัดเป็นสารควบคุม
การเจริญเติบโตของพืชและมีสารบางชนิดสามารถชักนำให้พืช
ออกดอกได้ แต่ก็ไม่จัดเป็นสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช
เช่น โปแตสเซียม ไนเตรท (KNO3) ที่สามารถชักนำให้มะม่วง
ออกดอกได้
2. ใช้ในปริมาณเล็กน้อยหรือความเข้มข้นต่ำ
(Low Concentration) เป็นสารที่พืชสร้างขึ้นในปริมาณเล็กน้อย
หรือเป็นสารสังเคราะห์แต่นำมาใช้ในปริมาณเล็กน้อย
(ประมาณ1 มิลลิโมลต่อลิตร หรือน้อยกว่า)และมีผลต่อการ
เปลี่ยนแปลงการเจริญเติบโตของพืชได้ สำหรับสารอินทรีย์อื่นๆ
เช่น น้ำตาล ซึ่งพบว่าพืชสร้างขึ้นในปริมาณมาก จึงไม่จัดเป็น
สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช
3. มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยา
ของพืช (Physiological Response)เช่น การสังเคราะห์แสง
การหายใจ การเจริญเติบโตของพืช การออกดอก
การติดผลและการพัฒนาของผล การแก่ชรา และการพักตัว
ของตาและเมล็ด เป็นต้น
4. ไม่เป็นธาตุอาหารพืชหรืออาหารพืช
(Not Plant Nutrients หรือ Organic Materials)
ธาตุอาหารที่พบในพืชหรือให้แก่พืช หรือธาตุอาหารใน
รูปต่างๆ ที่พืชสังเคราะห์ขึ้นมาและพืชเก็บสะสมเอาไว้
เช่น แป้ง น้ำตาล กรดอะมิโน ไม่จัดเป็นสารควบคุม
การเจริญเติบโตของพืช
สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช
สารควบคุมการเจริญเติบโตนำมาใช้ประโยชน์ได้กว้างขวาง ทั้งทางด้าน
การเพิ่มผลผลิต การผลิตพืชนอกฤดู ลดแรงงานในการผลิตพืช เป็นต้น การใช้สาร
ให้ได้ผลตามที่ต้องการนั้นจะต้องทราบคุณสมบัติของสารแต่ละชนิดและเลือกใช้ใ
ห้ถูกกับวัตถุประสงค์ที่ต้องการ จึงขอยกตัวอย่างการใช้ประโยชน์จากสารเหล่านี้
เพียงบางประการเพื่อใช้เป็นแนวทางในการผลิตพืชต่อไป
การเพิ่มผลผลิต การผลิตพืชนอกฤดู ลดแรงงานในการผลิตพืช เป็นต้น การใช้สาร
ให้ได้ผลตามที่ต้องการนั้นจะต้องทราบคุณสมบัติของสารแต่ละชนิดและเลือกใช้ใ
ห้ถูกกับวัตถุประสงค์ที่ต้องการ จึงขอยกตัวอย่างการใช้ประโยชน์จากสารเหล่านี้
เพียงบางประการเพื่อใช้เป็นแนวทางในการผลิตพืชต่อไป
1. ออกซิน คุณสมบัติที่สำคัญของออกซินข้อหนึ่งคือ
ความสามารถในการกระตุ้นการเกิดรากและการเจริญของราก
จึงได้มีการนำออกซินมาใช้กับกิ่งปักชำหรือกิ่งตอนของพืชทั่ว ๆ ไป
เพื่อเร่งให้เกิดรากเร็วขึ้นและมากขึ้น
ความสามารถในการกระตุ้นการเกิดรากและการเจริญของราก
จึงได้มีการนำออกซินมาใช้กับกิ่งปักชำหรือกิ่งตอนของพืชทั่ว ๆ ไป
เพื่อเร่งให้เกิดรากเร็วขึ้นและมากขึ้น
ภาพ : การใช้ฮอร์โมนช่วยเร่งรากของกิ่งปักชำ
2. จิบเบอเรลลิน มีคุณสมบัติสำคัญเกี่ยวข้องกับการยืดตัวของเซลล์
ดังนั้นจึงใช้ในการเร่งการเติบโตของพืชทั่ว ๆ ไปได้ ผักกินใบหลายชนิดตอบสนอง
ต่อจิบเบอเรลลินได้ดี โดยจะมีการเติบโตของเซลล์รวดเร็วขึ้น ทำให้ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น
ผักบางชนิดที่มีการเติบโตของต้นเป็นแบบกระจุก (rosette plant) เช่น ผักกาดหอมห่อ
ผักกาดขาวปลี กะหล่ำปลี ถ้ามีการใช้จิบเบอเรลลินกับพืชเหล่านี้ในระยะต้นกล้า
จะทำให้เกิดการยืดตัวของต้นอย่างรวดเร็ว และออกดอกได้ ซึ่งเป็นประโยชน์ใน
แง่การผลิตเมล็ดพันธุ์ ในกรณีของไม้ผลยืนต้นหลายชนิด เช่น มะม่วง ส้ม และ
ไม้ผลเขตหนาวอื่น ๆ พบว่า จิบเบอเรลลินมีผลเร่งการเติบโตทางด้านกิ่งใบและยับยั้ง
การออกดอก ดังนั้นในกรณีที่ต้องการเร่งใบโดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะต้นกล้า จึงอาจ
ใช้จิบเบอเรลลินให้เป็นประโยชน์ได้ จิบเบอเรลลินยังมีผลช่วยขยายขนาดผลได้
เช่น องุ่น มะม่วง ซึ่งในปัจจุบันมีการใช้อยู่ในบางสวนของประเทศไทย ประโยชน์
ทางด้านอื่น ๆ ของจิบเบอเรลลินได้แก่ ใช้ในการเปลี่ยนแปลงดอกของพืชบางชนิด
เช่น พืชตระกูลแตง และข้าวโพดหวาน ให้มีดอกตัวผู้มากขึ้น เพื่อประโยชน์ใน
การถ่ายละอองเกสรและยังใช้ทำลายการพักตัวของหัวมันฝรั่งและเมล็ดพืชบางชนิดได้
ดังนั้นจึงใช้ในการเร่งการเติบโตของพืชทั่ว ๆ ไปได้ ผักกินใบหลายชนิดตอบสนอง
ต่อจิบเบอเรลลินได้ดี โดยจะมีการเติบโตของเซลล์รวดเร็วขึ้น ทำให้ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น
ผักบางชนิดที่มีการเติบโตของต้นเป็นแบบกระจุก (rosette plant) เช่น ผักกาดหอมห่อ
ผักกาดขาวปลี กะหล่ำปลี ถ้ามีการใช้จิบเบอเรลลินกับพืชเหล่านี้ในระยะต้นกล้า
จะทำให้เกิดการยืดตัวของต้นอย่างรวดเร็ว และออกดอกได้ ซึ่งเป็นประโยชน์ใน
แง่การผลิตเมล็ดพันธุ์ ในกรณีของไม้ผลยืนต้นหลายชนิด เช่น มะม่วง ส้ม และ
ไม้ผลเขตหนาวอื่น ๆ พบว่า จิบเบอเรลลินมีผลเร่งการเติบโตทางด้านกิ่งใบและยับยั้ง
การออกดอก ดังนั้นในกรณีที่ต้องการเร่งใบโดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะต้นกล้า จึงอาจ
ใช้จิบเบอเรลลินให้เป็นประโยชน์ได้ จิบเบอเรลลินยังมีผลช่วยขยายขนาดผลได้
เช่น องุ่น มะม่วง ซึ่งในปัจจุบันมีการใช้อยู่ในบางสวนของประเทศไทย ประโยชน์
ทางด้านอื่น ๆ ของจิบเบอเรลลินได้แก่ ใช้ในการเปลี่ยนแปลงดอกของพืชบางชนิด
เช่น พืชตระกูลแตง และข้าวโพดหวาน ให้มีดอกตัวผู้มากขึ้น เพื่อประโยชน์ใน
การถ่ายละอองเกสรและยังใช้ทำลายการพักตัวของหัวมันฝรั่งและเมล็ดพืชบางชนิดได้
ภาพ : การเพิ่มขนาดของผลองุ่น โดยใช้จิบเบอเรลลิน
3. ไซโตไคนิน คุณสมบัติในการช่วยแบ่งเซลล์ของไซโตไคนินมีประโยชน์
ในงานเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชเป็นอย่างมากโดยใช้ผสมเข้าไปในสูตรอาหารเพื่อ
ช่วยการเติบโตของแคลลัสและกระตุ้นให้ก้อนแคลลัสพัฒนากลายเป็นต้นได้
ประโยชน์ทางด้านอื่นของไซโตไคนินมีค่อนข้างจำกัด นอกจากการนำมาใช้เร่งการ
แตกตาของพืช ซึ่งมีประโยชน์ในด้านการควบคุมทรงพุ่มและเร่งการแตกตาของพืช
ที่ขยายพันธุ์ด้วยการติดตาแล้ว ไซโตไคนินยังมีคุณสมบัติชะลอการแก่ชราของพืชได้
จึงสามารถยืดอายุการเก็บรักษาผักกินใบและผลไม้ รวมทั้งดอกไม้ได้หลายชนิด
แต่อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้เป็นเพียงงานทดลองเท่านั้น ยังไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์
ได้จริงจัง
ในงานเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชเป็นอย่างมากโดยใช้ผสมเข้าไปในสูตรอาหารเพื่อ
ช่วยการเติบโตของแคลลัสและกระตุ้นให้ก้อนแคลลัสพัฒนากลายเป็นต้นได้
ประโยชน์ทางด้านอื่นของไซโตไคนินมีค่อนข้างจำกัด นอกจากการนำมาใช้เร่งการ
แตกตาของพืช ซึ่งมีประโยชน์ในด้านการควบคุมทรงพุ่มและเร่งการแตกตาของพืช
ที่ขยายพันธุ์ด้วยการติดตาแล้ว ไซโตไคนินยังมีคุณสมบัติชะลอการแก่ชราของพืชได้
จึงสามารถยืดอายุการเก็บรักษาผักกินใบและผลไม้ รวมทั้งดอกไม้ได้หลายชนิด
แต่อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้เป็นเพียงงานทดลองเท่านั้น ยังไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์
ได้จริงจัง
4. เอทิลีนและสารปลดปล่อยเอทิลีน เป็นสารเร่งการสุกของผลไม้จึงใช้ใน
การบ่มผลไม้โดยทั่ว ๆ ไป การสุกของผลไม้ตามปกติก็เกิดจากการที่ผลไม้นั้น
สร้างเอทิลีนขึ้นมา ดังนั้นการให้เอทิลีนกับผลไม้ที่แก่จัดจึงสามารถเร่งให้เกิดการสุก
ได้เร็วกว่าปกติ โดยที่คุณภาพของผลไม้ไม่ได้เปลี่ยนไป ในต่างประเทศใช้ก๊าซเอทิลีน
เป็นตัวบ่มผลไม้โดยตรง แต่ต้องสร้างห้องบ่มโดยเฉพาะ ส่วนในประเทศไทยไม่มีห้องบ่ม
จึงใช้ถ่านก๊าซ (calcium carbide) ในการบ่มผลไม้แทน โดยที่ถ่านก๊าซเมื่อทำปฏิกริยากับ
น้ำจะได้ก๊าซอะเซทิลีนออกมา ซึ่งมีผลเร่งการสุกเหมือนกับเอทิลีน เกษตรกรบางรายเริ่มนำ
เอทีฟอน เข้ามาใช้บ่มผลไม้ แต่ยังไม่มีผู้ใดให้คำยืนยันในเรื่องพิษตกค้างของสารนี้
เอทีฟอนเป็นสารปลดปล่อยเอทิลีนซึ่งนำมาใช้ประโยชน์ได้กว้างขวาง เช่น
ใช้ในการเร่งดอกสับปะรด เร่งการไหลและเพิ่มปริมาณน้ำยางพาราและยางมะละกอ
เร่งการแก่ของผลไม้บนต้นให้แก่พร้อมกัน เช่น เงาะ มะม่วง ลองกอง องุ่น มะเขือเทศ
กาแฟ เร่งการแก่ของใบยาสูบ และมีแนวโน้มที่จะนำสารนี้มาใช้ประโยชน์ได้อีกมาก
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อเร่งการแก่และการสุกของผลไม้
การบ่มผลไม้โดยทั่ว ๆ ไป การสุกของผลไม้ตามปกติก็เกิดจากการที่ผลไม้นั้น
สร้างเอทิลีนขึ้นมา ดังนั้นการให้เอทิลีนกับผลไม้ที่แก่จัดจึงสามารถเร่งให้เกิดการสุก
ได้เร็วกว่าปกติ โดยที่คุณภาพของผลไม้ไม่ได้เปลี่ยนไป ในต่างประเทศใช้ก๊าซเอทิลีน
เป็นตัวบ่มผลไม้โดยตรง แต่ต้องสร้างห้องบ่มโดยเฉพาะ ส่วนในประเทศไทยไม่มีห้องบ่ม
จึงใช้ถ่านก๊าซ (calcium carbide) ในการบ่มผลไม้แทน โดยที่ถ่านก๊าซเมื่อทำปฏิกริยากับ
น้ำจะได้ก๊าซอะเซทิลีนออกมา ซึ่งมีผลเร่งการสุกเหมือนกับเอทิลีน เกษตรกรบางรายเริ่มนำ
เอทีฟอน เข้ามาใช้บ่มผลไม้ แต่ยังไม่มีผู้ใดให้คำยืนยันในเรื่องพิษตกค้างของสารนี้
เอทีฟอนเป็นสารปลดปล่อยเอทิลีนซึ่งนำมาใช้ประโยชน์ได้กว้างขวาง เช่น
ใช้ในการเร่งดอกสับปะรด เร่งการไหลและเพิ่มปริมาณน้ำยางพาราและยางมะละกอ
เร่งการแก่ของผลไม้บนต้นให้แก่พร้อมกัน เช่น เงาะ มะม่วง ลองกอง องุ่น มะเขือเทศ
กาแฟ เร่งการแก่ของใบยาสูบ และมีแนวโน้มที่จะนำสารนี้มาใช้ประโยชน์ได้อีกมาก
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อเร่งการแก่และการสุกของผลไม้
ภาพ : การใช้เอทิลีนในการบ่มผลไม้
อ้างอิง
วัชวัลย์ ครุฑไชยันต์. (๒๕๕๕). สารที่ควบคุมการเจริญเติบโตของพืช.
สืบค้นเมื่อ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๕๕, จาก http://watchawan.blogspot.com/2010/05/blog-post_3852.html
พีระเดช ทองอำไพ. (๒๕๕๒). สารที่ควบคุมการเจริญเติบโตของพืช. สืบค้นเมื่อ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๕๕, จาก http://reg.ksu.ac.th/teacher/myweb/plant%20propagation
พีระเดช ทองอำไพ. (๒๕๕๒). สารที่ควบคุมการเจริญเติบโตของพืช. สืบค้นเมื่อ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๕๕, จาก http://reg.ksu.ac.th/teacher/myweb/plant%20propagation
มปป. (๒๕๕๐). ประโยชน์ของสารที่ควบคุมการเจริญเติบโต. สืบค้นเมื่อ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๕,
จาก http://www.doae.go.th/library/html/detail/hormone/hormone3.html
จาก http://www.doae.go.th/library/html/detail/hormone/hormone3.html